1 พบว่าผู้ตอบแบบประเมิน มีสถานภาพเป็น นิสิต-นักศึกษา ร้อยละ 27 และประชาชนทั่วไป ร้อยละ 68 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46 เพศหญิง ร้อยละ 54 และมีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมดรองลงมา มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด
คุณสมบัติทั่วไปของสิ่งประดิษฐ์ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.25) สามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.29) สามารถพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.21)
ความเหมาะสมของสิ่งประดิษฐ์ในด้านการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.23) รูปแบบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.2) เทคนิคในการออกแบบระบบทำงานเหมาะสมและปลอดภัย อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.3) เลือกใช้วัสดุในการผลิต ประหยัด เหมาะสมกับงาน อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.2)
คุณค่าของสิ่งประดิษฐ์ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.28) ประโยชน์การใช้งานด้านการประกอบอาชีพหรือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.24) ความคุ้มค่าของสิ่งประดิษฐ์ อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35) ความปลอดภัยในด้านการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย = 4.24)
ผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผลการที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดจำนวน 100 คนที่อยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ที่สะดวกและง่ายต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจส่งผลการให้ผลการวิจัยมีความคลาดเคลื่อนบ้าง ผู้ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาต่อไปต้องพิจารณา อาจจะต้องเลือกวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างในวิธีการอื่นๆ ที่ครอบคลุมประชากรผู้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปมากกว่าการวิจัยในครั้งนี้
1. กลุ่มตัวอย่างต้องมีความหลากหลายมากกว่าการวิจัยครั้งนี้
2. ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ ให้มีความสวยงาม ลดขนาดให้เล็กลง น้ำหนักให้น้อยลง
3. เลือกใช้อุปกรณ์ประกอบที่มีราคาถูกลง แต่ยังคงคุณภาพและมาตรฐานไว้